วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

โครงการ ค่ายเยาวชนรักษ์ทะเล

โครงการ “ค่ายเยาวชนรักษ์ทะเลครั้งที่ 6” (6th Marine Camp)

1. ผู้รับผิดชอบโครงการ
1.1 คณะครูกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาพังไกร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
1.2 หน่วยงานร่วม (ภายใน/ภายนอก)

2. วิทยากร
1) นางสาวอารีย์ ทองดำ
2) นางประจวบ โศภิษฐิกุล
3)นางสาวสุจารี สังชุม
4) นางอัญชิสา ประกอบบุญ
5) นางกาญจนา อินทร์ศวร

3. หลักการและเหตุผล
ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับสากลว่ามีความ
หลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งพืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก รวมทั้งอุดมไปด้วยแร่ธาตุและน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยทรัพยากรเหล่านี้สามารถพบได้ในระบบนิเวศต่าง ๆ ในทะเล ซึ่งพบว่ามีความหลากหลายอีกเช่น เช่น
ระบบนิเวศชายหาด ระบบนิเวศป่าชายเลน ระบบนิเวศปะการัง เป็นต้น แต่ในปัจจุบันพบว่า มนุษย์ใช้
ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลดังกล่าวอย่างไม่ถูกต้องและไม่รู้คุณค่า ก่อให้เกิดความเสียหายและความ
เสื่อมโทรมแก่สภาพแวดล้อมทางทะเล และทำให้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ หมดไปอย่างรวดเร็ว ซึ่ง
ปัญหาดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต่อมนุษย์ทั้งในระยะสั้น และในระยะยาว ดังนั้นการ
ปลูกจิตสำนักและให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ในแง่ของ
ประโยชน์ คุณค่า การนำไปใช้ การอนุรักษ์ที่ถูกวิธีให้แก่เยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชุมชนและของ
ประเทศชาติต่อไปในอนาคตจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้จากการที่ทางโรงเรียนเขาพังไกร ได้ดำเนินการ
โครงการค่ายเยาวชนรักษ์ทะเลมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ครั้งที่ 1 - 5 ในปี พ.ศ. 2548 – 2552
การดำเนินโครงการฯ ที่ผ่านมานั้นได้รับความสนใจ และความร่วมมือ จากนักเรียน โรงเรียน ผู้ปกครอง
และหน่วยงาน จากทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต่าง ๆ เป็นอย่างดียิ่ง มีนักเรียนให้ความสนใจเข้าร่วม
โครงการเป็นจำนนวนมาก ในทุกๆ ปี และถือได้ว่าประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ที่วาง
ไว้ทุกประการ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้
และปฏิบัติจริงในห้องเรียนธรรมชาติ และยังได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปเผยแพร่ใน
โรงเรียนและชุมชน

จากเหตุผลดังที่กล่าวมา ทางคณะกรรมการผู้จัดโครงการค่ายเยาวชนรักษ์ทะเลจึงเล็งเห็น
ความสำคัญและคุณประโยชน์ของการจัดการโครงการค่ายเยาวชนรักษ์ทะเลอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6
เพื่อเป็นการสานต่อวัตถุประสงค์ดังที่กล่าวมารวมทั้งยังเป็นการตอบสนองความต้องการของชุมชน โดย
เน้นการจัดกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจ และการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการใช้และอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลให้แก่เยาวชน รวมทั้งจัดให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมทาง
ทะเลและแนวทางป้องกัน

4. วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างรู้
คุณค่า
4.2 เพื่อให้เยาวชนได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรทะเลอย่างถูกต้อง
4.3 เพื่อให้เยาวชนได้ทราบปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งวิธีป้องกันแก้ไขและสามารถ
นำไปปฏิบัติได้
4.4 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการ
ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
4.5 เพื่อให้เยาวชนสามารถนำมาความรู้ที่ได้รับ ไปบริการวิชาการให้แก่ชุมชนได้
5. พื้นที่ / ชุมชนเป้าหมาย (ชุมชน/หมู่บ้าน/อำเภอ/จังหวัด)
พื้นที่ ชายหาด ตำบลหน้าสตน ชายหาดบ้านหน้าศาล ชายหาดฉิมหลา
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ)
6.1 ด้านผลผลิต (output)
1) ผลิตนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน ประมาณ 30 คน
2) นักเรียนที่ช่วยงาน จำนวนประมาณ 10 คน
6.2 ด้านผลลัพธ์ (outcome)
1) นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการมีส่วน
ร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล
2) นักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบนิเวศและ
ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ในทะเล
3) นักเรียนได้รับทราบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและทราบวิธีป้องกัน
แก้ไขและสามารถนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในการปฏิบัติได้
4) ประชาสัมพันธ์กลุ่มสารวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาพังไกร และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านชีววิทยา
ทาง ทะเล และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลสู่กลุ่มเยาวชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง
5) นักเรียนที่มาช่วยดำเนินโครงการได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ
ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในวิชาเรียนได้
6) สร้างเครือข่ายความร่วมมือ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงาน
6.3 ด้านผลกระทบ (impact)
1) ได้เผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาพังไกร และรายวิชาชีววิทยา ให้
นักเรียนใน ได้รู้จัก
2) มีผลต่อการประเมินคุณภาพของ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาพังไกร
3) นักเรียนมัธยมเลือกเรียนสาขาต่างๆ ของภาควิชาชีววิทยามากขึ้น
7. สถานที่ดำเนินโครงการ โรงเรียนเขาพังไกร ชายหาดทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอหัวไทร
8. วันที่จัดกิจกรรมโครงการ เป็นเวลา 3 วัน คือ วันที่ 11-12-13 มีนาคม 2553
9. วิธีดำเนินการ
9.1 การให้ความรู้ภาคทฤษฎีโดยการบรรยายความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล และแนวทางการป้องกัน และ
การอนุรักษ์
9.2 การฝึกปฏิบัติจริงในภาคสนาม โดยการไปศึกษานอกสถานที่ เช่นการศึกษาระบบนิเวศต่างๆ ใน
ทะเล การฝึกดำน้ำชายฝั่งเพื่อศึกษาระบบนิเวศน์แนวปะการัง และฝึกการใช้อุปกรณ์การศึกษา
วิทยาศาสตร์ทางทะเล
9.3 การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่งทะเล เช่นการปลูกป่าชายเลน การเก็บขยะบริเวณ
ชายฝั่ง แนวหญ้าทะเล และปะการัง
9.4 การจัดกิจกรรมเสวนาปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเล เพื่อให้นักเรียนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและ
เสนอแนวทางแก้ไข

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สาวใหญ่ประจำบ้าน

นางบุญหลง โดนยิงขาพิการ แต่ใจยังสู้

love me love my dogs


น้องเพชรตาเดียว

Dog home


สมาชิกในบ้าน